Page 34 - สถาปนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ครบ 32 ปี
P. 34

คำประกาศเกียรติคุณ


                                      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรีลักษณ์ รอดทอง

                                                     ----------------------


                 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรีลักษณ์ รอดทอง สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางด้านจุลชีววิทยาจาก University
             of Otago ประเทศนิวซีแลนด์ เมื่อปี พ.ศ. 2536 โดยได้เริ่มปฏิบัติงานที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในตำแหน่งอาจารย์

             สังกัดสาขาวิชาชีววิทยา สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 (ต่อมาได้ย้ายไปสังกัดสาขาวิชาปรีคลินิก
             ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2559) ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาชีววิทยา ตั้งแต่วันที่ 24
             พฤศจิกายน พ.ศ. 2539

                 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรีลักษณ์ รอดทอง เป็นผู้มีผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่โดดเด่น นำไปสู่การประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์
             ก่อให้เกิดรายได้แก่มหาวิทยาลัย ตลอดจนนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงวิชาการและการบริการวิชาการทั้งในระดับสถาบัน

             ภาคอุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมอาหาร องค์กรต่าง ๆ และระดับชุมชน เป็นการประยุกต์ใช้นวัตกรรม
             เทคโนโลยีจุลินทรีย์ที่มีต้นทุนต่ำ และได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีผลดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค โดย
             ในช่วงปี พ.ศ. 2561 จนถึงปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรีลักษณ์ รอดทอง  มีผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่โดดเด่นอย่างยิ่ง 3
             ผลงาน และอยู่ในระหว่างยื่นขอจดสิทธิบัตร ดังนี้ 1. ถังปฏิกรณ์ชีวภาพระดับนำร่องรองรับนวัตกรรมเทคโนโลยีกล้า
             เชื้อจุลินทรีย์ เป็นการนำถังโลหะขนาดบรรจุ 250 ลิตร ของสถานประกอบการอาหารที่เลิกใช้งานมาดัดแปลงเป็นถังปฏิกรณ์

             ชีวภาพที่ออกแบบให้มีโครงสร้างระบบควบคุมภายในต่างจากถังปฏิกรณ์ชีวภาพที่ผลิตทางการค้า มีประสิทธิภาพสูงในการ
             เลี้ยงจุลินทรีย์เป้าหมาย และราคาถูกกว่าถังปฏิกรณ์ชีวภาพที่ผลิตทางการค้าถึง 30 เท่า  2. กรรมวิธีการผลิตกรดแอล-
             แลคติกโดยตรงจากแป้งหัวมันและกากมันสำปะหลัง เป็นกรรมวิธีการผลิตกรดแอล-แลคติกจากหัวมันและกากมันสำปะหลัง

             ที่มีความบริสุทธิ์เชิงแสงสูงกว่าร้อยละ 90 เพื่อประยุกต์ใช้กับถังปฏิกรณ์ชีวภาพ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการผลิตกรด
             แอล-แลคติกในภาคอุตสาหกรรมได้ ซึ่งได้รับการยอมรับจากผู้ประกอบการเป็นอย่างมาก  3. อาหารเลี้ยง
             จุลินทรีย์ราคาถูกจากมันสำปะหลัง เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเลี้ยงเชื้อราคาถูกเพื่อรองรับนวัตกรรมเทคโนโลยีกล้า
             เชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ทางการค้าได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20   สิ่งประดิษฐ์ทั้ง
             3 ผลงานนี้ มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมอาหารและพลาสติกชีวภาพ รวมถึง ชาวประมง และ

             เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง

                 ด้วยผลงานที่โดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ มหาวิทยาลัยจึงได้คัดเลือก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรีลักษณ์ รอดทอง เป็น
             พนักงานดีเด่นสายวิชาการ ประจำปี พ.ศ. 2564 ด้านผลงานสิ่งประดิษฐ์ เพื่อเชิดชูเป็นแบบอย่างของการปฏิบัติงานและ
             การประพฤติปฏิบัติตนในฐานะพนักงานสายวิชาการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีและเป็นเกียรติประวัติสืบไป













                                                           34
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39