Page 35 - สถาปนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ครบ 32 ปี
P. 35
คำประกาศเกียรติคุณ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุขเกษม วัชรมัยสกุล
----------------------
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุขเกษม วัชรมัยสกุล สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ด้าน Materials Science and
Engineering จาก Hokkaido University ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2546 โดยได้เริ่มปฏิบัติงานที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ในตำแหน่งอาจารย์ สังกัดสาขาวิชาวิศวกรรมเซรามิก สำนักวิชาเทคโนโลยีทรัพยากร ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 (ต่อมา
ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2542) ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
ในสาขาวิชาวิศวกรรมเซรามิก เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุขเกษม วัชรมัยสกุล เป็นผู้มีผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่โดดเด่น นำไปสู่การประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์สร้าง
รายได้ ตลอดจนนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงวิชาการและการบริการวิชาการทั้งในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน โดยในช่วงปี
พ.ศ. 2561 จนถึงปัจจุบัน ได้มีผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่มีความสำคัญและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ประเทศไทยและทั่วโลกต้อง
รับมือกับวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำนวน 3 ผลงาน ได้แก่ 1. เครื่องกำเนิดไอไฮโดรเจน
เปอร์ออกไซด์สำหรับการฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในอากาศและบนพื้นผิววัสดุ และ 2. ตู้อบฆ่าเชื้อชุด PPE หน้ากาก N95 และ
อุปกรณ์ทางการแพทย์ด้วย ไอไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เป็นนวัตกรรมต้นแบบในการฆ่าเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา สปอร์ของ
เชื้อแบคทีเรีย รวมถึงเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้หลักการทำงานของกระบวนการเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง
มีเอทานอลและน้ำเป็นสารตั้งต้น มีสารกึ่งตัวนำเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เมื่อได้รับการกระตุ้นด้วยแสงจะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีโดยปลดปล่อย
ประจุบวกและลบออกมาทำให้เอทานอลและน้ำแตกตัวเป็นไอไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถฆ่าเชื้อโรคทั้งที่อยู่ใน
อากาศและที่ติดอยู่บนพื้นผิวของวัสดุ โดยไม่มีสารตกค้างที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยฯ
ได้นำเทคโนโลยีนี้มาใช้ฆ่าเชื้อใบปริญญาบัตร สำหรับพิธีพระราชทานปริญญาบัตรประจำปีการศึกษา 2562 ที่ผ่านมา รวมถึงนำมาใช้
ฆ่าเชื้อในชุด PPE และหน้ากาก N95 ของบุคลากรทางการแพทย์และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ดังกล่าว
3. น้อง “บริสุทธิ์” (Bori-SUT) หุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโรคในอากาศด้วยกระบวนการโฟโตแคตาไลติก เป็นนวัตกรรมหุ่นยนต์ต้นแบบกำจัด
เชื้อโรค มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคได้ถึง 99.99% สามารถเคลื่อนที่ไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ได้โดยมีเซ็นเซอร์ดักจับสิ่งกีดขวาง
ใช้แบตเตอรี่เป็นตัวจ่ายพลังงานให้แก่ระบบขับเคลื่อนและระบบฆ่าเชื้อโรค ตัวหุ่นยนต์ออกแบบเป็นโพรงกลวงเปรียบเสมือนห้องฟอก
อากาศ ติดตั้งระบบดูดอากาศจากภายนอกเข้าสู่ระบบฆ่าเชื้อโรคภายในตัวหุ่นยนต์ จากนั้นจึงปล่อยอากาศบริสุทธิ์ออกมา สิ่งประดิษฐ์
ทั้ง 3 ผลงานนี้ ได้รับความสนใจและนำไปใช้จริงทั้งในมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี หน่วยงาน
สาธารณสุข รวมถึงหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชน
ด้วยผลงานที่โดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ มหาวิทยาลัยจึงได้คัดเลือก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุขเกษม วัชรมัยสกุล
เป็นพนักงานดีเด่นสายวิชาการ ประจำปี พ.ศ. 2564 ด้านผลงานสิ่งประดิษฐ์ เพื่อเชิดชูเป็นแบบอย่างของการปฏิบัติงานและการ
ประพฤติปฏิบัติตนในฐานะพนักงานสายวิชาการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีและเป็นเกียรติประวัติสืบไป
35