Page 43 - สถาปนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ครบ 32 ปี
P. 43
คำประกาศเกียรติคุณ
รองศาสตราจารย์ ดร.วรวัฒน์ มีวาสนา
----------------------
รองศาสตราจารย์ ดร.วรวัฒน์ มีวาสนา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางด้าน Physics
จาก Stanford University ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2552 เริ่มปฏิบัติงานที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในตำแหน่ง
อาจารย์ สังกัดสาขาวิชาฟิสิกส์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้
ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาฟิสิกส์ ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรง
ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาฟิสิกส์ ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
รองศาสตราจารย์ ดร.วรวัฒน์ มีวาสนา เป็นผู้มีผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่โดดเด่น ทั้งสามารถนำไปสู่การประยุกต์ใช้ใน
เชิงพาณิชย์ก่อให้เกิดรายได้แก่มหาวิทยาลัย รวมถึงการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงวิชาการและบริการวิชาการที่มีผลกระทบ
ต่อสังคม ได้แก่ 1. การผลิตและติดตั้งห้องความดันติดลบแบบเคลื่อนย้ายได้สำหรับสถานการณ์โควิด-19 ให้แก่
โรงพยาบาลในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและโรงพยาบาลในเขตจังหวัดพังงา รวมทั้งสิ้น 20 โรงพยาบาล เพื่อ
ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 ในการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 2.การสร้างสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าแบบ
โซล่าร์ออฟกริด เพื่อแปลงพลังงานจากแสงอาทิตย์ควบคู่ไปกับระบบกักเก็บพลังงานขั้นสูง เป็นการตอบรับนโยบายเขียว
สะอาดของมหาวิทยาลัยฯ ประหยัดค่าไฟฟ้าในการชาร์ทพลังงานตามปกติ ตัวสถานีมีขนาดเล็กสามารถสร้างได้ในพื้นที่
จำกัดและพื้นที่ห่างไกลจากระบบสายส่งไฟฟ้าของภาครัฐ และจะมีการขยายผลสู่ชุมชนและสังคมต่อไป 3. สร้างระบบ
เซลล์แสงอาทิตย์และระบบกักเก็บพลังงาน ณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เพื่อระบบพลังงานสะอาด ประหยัดค่าใช้จ่าย
รวมถึงเป็นไฟฟ้าสำรองกรณีที่ไฟฟ้ารัฐขัดข้อง นอกจากนี้ยังมีการขยายผลระบบเซลล์แสงอาทิตย์ไปใช้กับผู้ประกอบการ
ภาคเกษตรกรรมในการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการเพาะปลูกอีกด้วย 4.การผลิตบิสมัสเฟอร์ไรด์แบบขั้วฟิล์มบางสำหรับ
ตัวเก็บประจุยิ่งยวด เป็นผลงานวิจัยที่นำไปสู่การประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ และได้มีการยื่นจดสิทธิบัตรร่วมกับ
บริษัทเอกชนด้วยแล้ว
ด้วยผลงานที่โดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ มหาวิทยาลัยจึงได้คัดเลือก รองศาสตราจารย์ ดร.วรวัฒน์ มีวาสนา
เป็นพนักงานดีเด่นสายวิชาการ ประจำปี พ.ศ. 2565 ด้านผลงานสิ่งประดิษฐ์ เพื่อเชิดชูเป็นแบบอย่างของการ
ปฏิบัติงานและการประพฤติปฏิบัติตนในฐานะพนักงานสายวิชาการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีและเป็นเกียรติประวัติ
สืบไป
43