Page 44 - สถาปนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ครบ 32 ปี
P. 44

คำประกาศเกียรติคุณ

                                          รองศาสตราจารย์ ดร.อมรรัตน์ โมฬี

                                                     ----------------------


                 รองศาสตราจารย์ ดร.อมรรัตน์ โมฬี    สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางด้านสัตวศาสตร์
             จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในปี พ.ศ. 2548 เริ่มปฏิบัติงานที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในตำแหน่งอาจารย์  สังกัดสาขาวิชา
             เทคโนโลยีการผลิตสัตว์ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2551 (ต่อมาได้ย้ายไปสังกัดสาขาวิชา
             เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์ ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2561) ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
             ในสาขาวิชาการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555 และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์
             ในสาขาวิชาการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

                 รองศาสตราจารย์ ดร.อมรรัตน์ โมฬี และคณะวิจัยจำนวนมากทั้งจากฟาร์มมหาวิทยาลัย สาขาวิชาเทคโนโลยีและ
             นวัตกรรมทางสัตว์ สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ สำนักวิชาแพทยศาสตร์ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์
             สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ และสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ได้ร่วมกันวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ไก่โคราช ไก่มทส. เทคโนโลยี

             ต่าง ๆ ที่ใช้ในการผลิตไก่โคราช และด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ จนทำให้ไก่กลายเป็นเครื่องมือที่เข้มแข็งในการประกอบอาชีพ
             ของเกษตรกรรายย่อยจำนวนมากกว่า 400 รายในจังหวัดต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลาง สร้าง
             รายได้ในระดับเศรษฐกิจฐานรากมากกว่า 80 ล้านบาท

                 ในด้านความร่วมมือกับองค์กรภายนอกมหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร.อมรรัตน์ โมฬี และคณะวิจัย ได้ทำความ
             ร่วมมือกับบริษัทเบทาโกรเกษตรและอุตสาหกรรมจำกัดเพื่อร่วมมือกันยกระดับความสามารถของเกษตรกรในการผลิตอาหาร
             ปลอดภัยและยกระดับตลาดไก่โคราช นอกจากนี้ยังได้มีความร่วมมือกับจังหวัดศรีสะเกษ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
             การเกษตร เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนให้จังหวัดศรีสะเกษเป็นศูนย์กลางการผลิตไก่โคราชอินทรีย์ เพื่อเป็นจังหวัดต้นแบบอีกด้วย

                 อนึ่ง ผลงานวิจัยที่เป็นนวัตกรรมสำคัญ คือ ไก่ มทส. ได้มีมหาวิทยาลัยต่าง ๆ นำไปวิจัยต่อยอดเพื่อขยายผล
             ซึ่งประกอบด้วยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศ ชะอำ และมหาวิทยาลัยราชมงคล
             ศรีวิชัย

                 ด้วยผลงานและการประพฤติปฏิบัติที่ถือเป็นแบบอย่างได้ มหาวิทยาลัยจึงได้คัดเลือก รองศาสตราจารย์ ดร.อมรรัตน์
             โมฬี เป็นพนักงานดีเด่นสายวิชาการ ประจําปี พ.ศ. 2565 ด้านการบริการวิชาการ เพื่อเชิดชูเป็นแบบอย่างของการ
             ปฏิบัติงานและการประพฤติปฏิบัติตนในฐานะพนักงานสายวิชาการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีและเป็นเกียรติประวัติ
             สืบไป


















                                                           44
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49