หลักเกณฑ์สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล

ผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินค่ารักษาพยาบาล

  1. พนักงาน
  2. คู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย
  3. บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายโดยกำเนิดของพนักงาน จำนวนไม่เกิน 3 คน เรียงตามลำดับที่หนึ่งถึงที่สามซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าขึ้นไป โดยบุตรยังไม่มีรายได้เป็นของตนเอง และมีอายุไม่เกิน 25 ปี
  4. คู่สมรสและบุตรต้องมีหลักฐานปรากฏในทะเบียนประวัติพนักงาน
    ซึ่งเก็บไว้ที่มหาวิทยาลัย
  5. คู่สมรสและบุตรต้องมีบัตรประจำตัวผู้ได้รับสวัสดิการเพื่อประกอบการเบิกค่ารักษา พยาบาล ออกให้โดยมหาวิทยาลัย
  6. บิดา และหรือมารดา ของพนักงานมีสิทธิ์เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน ปีละ 2,500 บาท ต่อพนักงาน 1 คน

หลักเกณฑ์ทั่วไป

  1. พนักงานที่มีสิทธิ์ได้รับค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานอื่น หรือบุคคลอื่น แต่ได้รับน้อยกว่าที่จะได้รับจากมหาวิทยาลัยให้ได้รับค่ารักษาพยาบาลจากมหาวิทยาลัยเฉพาะส่วนที่ยังขาดอยู่เท่านั้น
  2. ครอบครัวของพนักงานที่ใช้สิทธิรับค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานอื่น หรือบุคคลอื่นแล้ว มหาวิทยาลัยจะไม่ให้เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เว้นแต่ค่ารักษาพยาบาล ที่ได้รับนั้นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษา พยาบาลของมหาวิทยาลัย ซึ่งมหาวิทยาลัยจะให้เฉพาะส่วนที่ยังขาดอยู่
  3. กรณีคู่สมรสของพนักงานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและมีสิทธิ์ลดหย่อนค่ารักษาพยาบาล มหาวิทยาลัยจะให้ตามที่จ่ายจริงหลังจากลดหย่อนแล้ว แต่ไม่เกินอัตราที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  4. กรณีคู่สมรสเป็นพนักงานของมหาวิทยาลัยด้วย ให้พนักงานฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นผู้ใช้สิทธิ์เบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของบุตรแต่เพียงฝ่ายเดียว หากการสมรสสิ้นสุดลงให้พนักงานฝ่ายที่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรเป็นผู้ใช้สิทธิเบิกสวัสดิการดังกล่าว
  5. ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ได้จ่ายค่ารักษาพยาบาลไปแล้ว

สิทธิค่ารักษาพยาบาลสิ้นสุดลงเมื่อ

  1. พ้นสภาพการเป็นพนักงานของมหาวิทยาลัย
  2. ครอบครัวของพนักงานเดินทางพ้นประเทศไทย
  3. บุตรได้บรรลุนิติภาวะตามกฎหมาย เว้นแต่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าขึ้นไป ยังไม่มีรายได้เป็นของตนเองและมีอายุไม่เกิน 25 ปี

กรณีที่ไม่ได้ค่ารักษาพยาบาล

  1. รักษาพยาบาลอาการเจ็บป่วยด้วยตนเอง หรือให้บุคคลอื่นรักษาพยาบาลตนเอง โดยพลการ เว้นแต่กรณีไปปฏิบัติงานในที่ห่างไกลสถานพยาบาล
  2. เจ็บป่วยอันเป็นผลโดยตรงของเหตุดังนี้
  • การเสพสุรา สิ่งมึนเมา ยาเสพติดหรือสารเสพติด
  • กามโรค โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคยาเสพติดให้โทษ
  • จงใจฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับมหาวิทยาลัย หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชา
  • ก่อให้เกิดอันตรายขึ้นเองโดยการกระทำที่ผิดกฎหมาย ยกเว้นความผิดลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
  • การตั้งครรภ์ แต่ไม่รวมถึงการเจ็บป่วยเนื่องจากพิษแห่งครรภ์
  • การรักษาพยาบาล หรือการทำศัลยกรรมตกแต่งเพื่อความสวยงามหรือนอกเหนือจากที่มหาวิทยากำหนด